วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

                                             จริยธรรมความเป็นครู


ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้
           ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
          อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า “ความหมายของครูตามรูปแบบ”
          ที่ ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
          ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓) กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ

                                         ประเพณีลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นมากอย่างยิ่งในวันลอยกระทง ผลสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่า เทศกาลลอยกระทงชักนำให้วัยรุ่นไทยร่วมประเวณีกันมากที่สุด มีความเป็นไปได้ที่เยาวชนไทยร้อยละ 38 จะถูกล่วงละเมิดทางเพศในวันลอยกระทง ทั้งนี้ เพราะเทศกาลลอยกระทงจัดในยามค่ำคืน หนุ่มสาวพบเจอกันได้ง่ายและมักเสพสุรายาเมากัน[1] นอกจากนี้ มหาเถรสมาคมยังเปิดเผยด้วยว่า ในภาคอีสานมักจัดงานวัดซึ่งประกอบด้วยการเสพของมึนเมาและจัดแสดงอนาจารในคืนลอยกระทง



ประเพณีไทย  การเบิกน่าน








            ช่วงเวลา กระทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในเทศกาลออกพรรษา ก่อนจะมีการแข่งขันเรือพาย 

                                                                     ความสำคัญ 


เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค ๗ ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว








การละเล่นไทย 




ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  อุดรธานี
เป็นการเล่นต่อขาให้สูงสันนิษฐานว่าจะมาจากการทีผู้ใหญ่ใช้วิธีการนี้เดินข้าม น้ำ หรือ เข้าป่าเข้าพง แต่ไม่มีรองเท้าสวมใส่กันหนามไหน่ เมื่อป่าพงหมดไปมีรองเท้าสวมใส่ป้องกันหนามไหน่ได้ก็คงจะเลิกใช้กัน แต่เด็กนำมาเป็นของเล่น เล่นกันให้สนุกสนาน

  • อุปกรณ์ในการเล่น
ไม้ไผ่ท่อนเล็กขนาดพอเหมาะมือจับได้มั่น ๒ ท่อน ยาวท่อนละประมาณ ๑.๕๐ - ๒ เมตร เลือกไม้ไผ่ที่มีแขนงที่แข็งแรงยื่นออกมาจากบ้องโดยกะขนาดให้ได้ความสูงใน การที่จะขึ้นไปยืนและก้าวเดินได้ตามที่ต้องการ หากหาไม้ไผ่ที่แขนงแข็งแรงจากปล้องไม่ได้ คะเนความสูงตามที่ต้องการแล้วทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นเจาะรูจากที่ทำเครื่องหมายให้ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง หาไม้เหนียว ๆ แข็งแรง หรือเหล็กสอดเข้าไปในรูทำสลัก และหาไม้ไผ่ท่อนยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ คู่ ไม้ไผ่คู่นี้เลือกตัดให้มีปล้องไม้ไผ่อยู่ตรงกลาง เหนือปล้องไม้ไผ่ด้านหนึ่งเจาะเป็นรูกว้างพอที่จะสวมไม้ไผ่ท่อนยาวได้ให้ลง มาวางอยู่บนแขนงไม้ที่ยื่นจากปล้องหรือลงบนไม้หรือเหล็กที่ทำสลักไว้เวลา เล่นขึ้นไปเหยียบบนท่อนไม้ที่สวมไม้ท่อนยาววางเท้าให้มั่นๆและจับไม้ท่อนยาว ให้ตั้งตรง ก้าวเดินไปคล้ายเดินธรรมดา หากหัดจนชำนิชำนาญก็พาไม้วิ่งได้รวดเร็ว ถ้าต้องเดินสูงมากจะทำรูสลักสูง เวลาขึ้นไปยืนบนไม้โถกเถกต้องใช้บันไดบ้านหรือกำแพงสำหรับพิงไม้โถกเถกแล้ว ขึ้นไปยืน
  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น

เล่นได้ทุกโอกาสเด็ก ๆ จะวิ่งแข่งกัน หรือเล่นในงานโรงเรียนเป็นการแข่งขันระหว่างชั้นปี หรือในเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ เทศกาลกฐินจะมีกีฬาหมู่บ้านเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคีก็จะจัดแข่งขัน เดินวิ่งไม้โถกเถก



     


วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
    วันขึ้น 8 ค่ำ
    วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
    วันแรม 8 ค่ำ
    วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

   ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน